การจัดการบริหารการเงินส่วนบุคคล แบ่งค่าใช้จ่าย หรือ รายจ่าย ออก เป็น 3 หมวด 1. รายจ่ายประจำ - ค่าผ่อนบ้าน - ให้แม่ 2. รายจ่ายแปรผัน - ค่าอาคาร - ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่า ไฟ) - ค่าโทรศัพท์ - ค่าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย - ค่ารถ - ดอกเบี้ยเงินกู้ 3. รายจ่ายพิเศษ - ภาษีสังคม อาทิ ซองต่าง - งานเลี้ยง - ท่องเที่ยว - ดูหนัง * พยายามเขียน App บน Tablet หรือมือถือ เพื่อจดค่าใช้จ่ายพวกนี้ และพยายามกำหนดหมายเลขหมวดหมู่ของค่าใช้จ่าย ******************************************************************************************************************************** การออมก่อนเกษียณ แบ่งเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้ทันเงินเฟ้อ แบ่งออกเป็นกองต่าง ๆ ดังนี้ 1. เงินเพื่อการเกษียณ หลักการ ระยะเวลาออม 5 –30 ปี ใช้หลักการดอกเบี้ยทบต้นแล้วทวีมูลค่า วิธีการ ลงทุนในกองทุนแบบผสม หุ้น + ตราสารหนี้ แบ่งการลงทุนตามช่วงอายุ 31 – 40 ปี กองทุนหุ้น 70% กองทุนตราสารหนี้ 30% 41 – 55 ปี เงินฝาก 35 % ตราสารหนี้ 35% กองทุนหุ้น LTF 30% 55 ปีขึ้นไป 50% พันธบัตร 25% กองทุนรวมตลาดเงิน 25% เงินฝากออมทรัพย์ (เงินออมท้งหมดควรอยู่ในรูปเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ) ผลลัพธ์ 2. เงินเพื่อรายจ่ายประจำ --> ค่าใช้จ่ายรายเดือน หลักการ เน้นการใช้จ่ายในแต่ละเดือน วิธีการ นำเงินที่ใช้จ่ายในแต่ละเดือน ฝากใน MMF มีเหลือไว้ใน ATM 2-5 พันบาท เมื่อเงินใน ATM หมด ขายคืน T+1 ออกมาครั้งละ 5 พันบาm ผลลัพธ์ MMF 3. เงินออมเพื่อยามฉุกเฉิน หลักการ สามารถถอนได้ทันที ไม่คำนึงถึงผลตอบแทน เน้นสภาพคล่องเป็นหลัก วิธีการ เน้นบัญชีฝากประจำระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนสูง และปลอดภาษี ผลลัพธ์ ฝากประจำ 3 เดือน 4. เงินเพื่อใช้จ่ายพิเศษ --> ซื้อบ้าน รถ หลักการ ใช้สำหรับแผนต่าง ๆที่วางไว้ ในแต่ละช่วงชีวิต เช่นซื้อรถ ซื้อบ้าน เน้นให้เกิดผลตอบแทนมากที่สุด และความเสี่ยงน้อยที่สุด วิธีการ เก็บออมในไว้กองทุนตราสารหนี้ยะสั้นแบบพิเศษ ไว้ก่อนล่วงหน้า 3 ปี ระยะเวลา T+3 เช่น Bond เกาหลี 6 เดือน 3.5% , หุ้นกู้อิตาเลี่ยนไทย 3 ปี 5% ผลลัพธ์ กองทุนตราสารหนี้ , หุ้นกู้ ผลตอบแทน 3 – 5% 5. เงินเพื่อความสบาย = ลงทุน หลักการ ลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในอัตราสูง วิธีการ ลงทุนใน หุ้น เก็งกำไรคอนโด หากเศรษฐกิจดี ให้ซื้อกองทุนหุ้น ผลลัพธ์ ตารางทางเลือกสำหรับ ลดความเสี่ยง อายุ เงินฝาก ตราสารหนี้ หุ้น ผลตอบแทนต่อปี 25 – 35 0% 40% 60% 10% - 20% 35 – 45 10% 50% 40% 7% - 15% 45 - 60 30% 60% 10% 4% - 10% 60 ปี UP 80% 20% 0% 2% - 5% ลงทุนในกองทุน เน้นที่ผลงานดี มีค่าใช้จ่ายในการบริหารต่ำ AYF , TMB , KTB กรณีตัวอย่างการลงทุนแบบข้าราชการ นาย อ อายุ 45 ปี ทำงานรับราชการ ไม่มีความรู้และเวลาในการลงทุน และติดตาม เพราะต้องทำงานในเวลาราชการ เงินเดือน 17000 บาท ปัจจัยการเฟ้นหารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม 1. อายุ 45 ปี ไม่ควรลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูง สัดส่วนการลงทุน เงินฝาก 20% ตราสารหนี้ 50% หุ้น 30% 2. ไม่มีความรู้ และไม่มีเวลาในการลงทุน ควรเลือกการลงทุนผ่านกองทุนรวม (ไม่ควรลงทุนเอง) 3. รายได้ 17000 บาท เป็นรายได้ที่ไม่มาก เสียภาษีในระดับ 5% (จริง ๆ แล้วไม่เสียเลย) มีการลงทุนใน กบข. แล้ว และมีสวัสดิการราชการแล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มในประกัน หรือกองทุนหักภาษีเพิ่ม รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม 1. ฝากประจำแบบสม่ำเสมอ (ปลอดภาษีดอกเบี้ย และได้ดอกเบี้ยสูง) สัดส่วน 20% จากเงินเดือนโดยหักจากบัญชีเงินเดือนได้ทุกเดือน 2. ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ที่ธนาคารที่มีบัญชีอยู่ 50% โดยหักบัญชีหรือโอนเข้าทุกเดือน 3. ลงทุนในกองทุนหุ้น (เน้นผลตอบแทนสูง) 30% โดยโอนเงินไปซื้อเองทุกเดือน เมื่อเวลาผ่านไป จากอายุ 45 จนถึงอายุ 60 ปีที่เกษียณ นาย อ จะมีเงินก้อนไว้ใช้จ่าย เพิ่มจากที่ได้รับจาก กบข. รับรองชีวิตบ้านปลายสบาย แม้เงินเดือนจะไม่สูงนัก หลักการลงทุนตามภาวะเศรษฐกิจ 1.เศรษฐกิจของทุกประเทศมีขึ้น และมีลงเป็นรอบ เศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก จะมีลักษณะขึ้นสลับกับลง หากนำค่าอัตราเติบโตของ GDP มาวาดเป็นกราฟคร่าว ๆ จะได้รูปเป็นคลื่นขึ้นและลง เรียกว่า วัฎจักรเศรษฐกิจ ดังรูป วัฎจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) สภาพเศรษฐกิจ ขณะใด ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วง วนเวียนต่อเนื่องไป อาจจะใช้เวลานาน 5 – 10 ปี ต่อ 1 รอบ ดังนี้ 1. ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Boom หรือ Prosperous) - การผลิตขยายตัวสูง - ระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้นเนื่องจากมีความต้องการมาก - การว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น จนแทบไม่มีใครว่างงาน 2. ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) - บริษัทต่าง ๆ แข่งขันกันติดตลาด - ระดับราคายังสูงอยู่ แต่บรรยากาศไม่เหมาะแก่การลงทุนเพิ่มเนื่องจากได้ลงทุนไปมากแล้ว - การผลิตเริ่มลดลง ธุรกิจขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ - การจ้างงานลดลง 3. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Depression) - การผลิตลดลงจนแทบจะเลิกผลิต - ระดับราคาโดยทั่วไปลดลง แต่การแข่งขันยังมีอยู่ - การว่างงานอยู่ในระดับสูง 4. ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว (Recovery) - ปริมาณสินค้าคงคลังที่เก็บตุนไว้ลดลง เริ่มมีการผลิตใหม่ - ความต้องการสูงขึ้น เพราะคาดว่าสินค้าจะเริ่มขาดแคลน - เริ่มมีการจ้างแรงงานใหม่ - ระดับราคาโดยทั่วไปเริ่มสูงขึ้นเพราะความต้องการเพิ่มขึ้น กฎทองการลงทุน 1. เมื่อเศรษฐกิจแย่สุด ๆ และเริ่มจะดีขึ้น 1.1 ให้ลงทุนในกองทุนหุ้นให้มากที่สุด 1.2 ซื้อแล้วถือยาว ๆ ผลตอบแทนคาดหวัง ปีละ 20% - 40% 1.3 ในช่วงเวลา 3 ปีที่เศรษฐกิจเริ่มจากดีขึ้น และพุ่งสุด ๆ 2. เมื่อเศรษฐกิจเริ่มแย่ และกำลังตกต่ำ 2.1 ให้เลิกเล่นหุ้น นำเงินไปลงทุนตราสารหนี้ 2.2 ผลอตอบแทนที่คาดหวัง 3% - 7% ต่อปี 2.3 ระยะเวลาที่คาดว่าจะเป็นแบบนี้ 2 – 3 ปี ที่เศรษฐกิจจะแย่สุด ๆ 3. เมื่อเศรษฐกิจไม่แย่มาก เช่น GDP 4% -5% แบบช่วงปี 48 – 50 3.1 จะเป็นหุ้นเป็นรอบใหญ่ ๆ คือเมื่อหุ้นตกเยอะ ๆ จนมีคนบ่นกัน ก็ให้ซื้อกองทุนหุ้น 3.2 และเมื่อหุ้นขึ้นก็ขายกองทุนออกมา จะมีกำไร 7% -10% ต่อรอบ 3.3 และเมื่อไม่เล่นหุ้น ก็พักเงินในตราสารหนี้ หรือกองทุนรวม MMF ซึ่งให้ผลตอบแทน 2% - 4% ต่อปี 3.4 หรือหากช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอนอยู่ระดับ 4% - 5% หากเล่นหุ้นไม่เก่ง ก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนหุ้น แลงในกองทุนหุ้นแทน โดยใช้วิธดังนี หากทำได้ตามกฎทองการลงทุนแล้ว ในรอบเศรษฐกิจหนึ่งๆ ในเวลา 6 –10 ปี สามารถได้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่า 20% แม้ในแต่ละปีจะมากบ้าง หรือน้อยบ้าง แต่เวลากอบโกยต้องโกยให้มาก ๆ สามารถดูได้ตามกราฟ ในรูปกราฟ คือผลตอบแทนการลงทุนในแบบต่าง ๆ ทั้งหุ้น (เส้นบนสุด) , ตราสารหนี้ เส้นรองลงมา เงินฝาก และทองคำตามลำดับ ในช่วงเวลา 30 ปี เป็นรูปผลตอบแทนจริง ๆ ซึ่งจะเห็นว่าการลงทุนในหุ้นระยะ ยาวก็ดีที่สุดแล้ว แต่มันไม่ดีพอสำหรับเรา ลองดูไปที่กราฟหุ้น ในปี 1986 หากเราลงทุนไป 5000 บาท ในปี 1992 เราจะมี เงิน 50000 บาทเลยทีเดียว หรือจาก 1 ล้ากลายเป็น 10 ล้านภายในเวลา 6 ปี แต่ทำไมคนเล่นหุ้นหลายคนจึงไม่รวยล่ะ? คำตอบคือ คนที่ไม่เล่นหุ้นเข้าใจกฎทองคำของการลงทุนว่า “เวลาเศรษฐกิจแย่ต้องเลิกเล่นหุ้น ” หากสังเกตในปี 1992 – 1997 หุ้นตก จากเงิน 50,000 บาทลดลงมาเหลือ 10,000 บาทเลยทีเดียว และแกว่งตัวไปแกว่งตัวมา จนเริ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2001 ดังนั้น สำหรับคนที่เรียนรู้กฎทองคำ การลงทุนทั้ง 3 แบบ ตามสภาวะเศรษฐกิจจะลงทุน หรือบริหารเงินออมดังนี้ - ในปี 1986 เราเริ่มลงทุนในหุ้นเต็มที่เลย สัดส่วนการลงทุน หุ้น 100% ตราสารหนี้ 0% (กฎทองของการลงทุนข้อที่ 1) ผลลัพธ์ สมมติลงทุนไป 1 ล้านบาท ในปี 1992 เราจะมีเงิน 10 ล้านบาท - ในปี 1992 – 1998 เรารู้ว่าเศรษฐกิจไม่ดี (อ่านจากหนังสือพิมพ์ก็รู้แล้ว) สัดส่วนการลงทุน เราจะไม่เล่นหุ้นเลย และนำเงินทั้งหมดลงตราสารหนี้ (เส้นที่ 2) หุ้น 0% , ตราสารหนี้ 100% กฎทองการลงทุนข้อที่ 2 ผลลัพธ์ จากกราฟ ตราสารหนี้ จะขึ้นจากประมาณ 6000 บาท ในปี 1992 ไป 12,000 บาท ในปี 1998 หรือเพิ่มขึ้น 1 เท่าในการลงทุน 6 ปี ดังนั้นหากเรานำเงิน 10 ล้านไปลงทุนตราสารหนี้ในช่วงนั้น ในปี 1998 เราจะมีเงินประมาณ 20 ล้านบาท - ในปี 1992 – 2002 (2541 - 2544) เป็นช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นใหม่ ๆ ยังแกว่งตัว สัดส่วนการลงทุน เราจะเน้นลงทุนตามรอบหุ้น โดยหวังผลตอบแทนปีละ 20% (กฎทองการลงทุนข้อที่ 3) ผลลัพธ์ ดังนั้นจากเงิน 20 ล้านบาท ลงทุนกำไรปีละ 20% 3 ปี จะกลายเป็น 34 ล้านโดยประมาณ (เงินต้นเยอะ เลยเติบโตเร็ว) - ในปี 2003 - 2006 (2545 - 2548) เป็นช่วงเศรษฐกิจฟื้นและรุ่ง สัดส่วนการลงทุน เน้นลงทุนหุ้นเต็มที่ หุ้น 100% ตราสารหนี้ 0% (กฎทองการลงทุนข้อที่ 1) จากกราฟ จะเห็นว่าลงทุนในหุ้นจะมีกำไรประมาณ 100% ใน 3 ปี (ซึ่งในช่วงปี 2546 ปีเดียว ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นไป 100% จริง ๆ แล้วเป็นปีที่ผูเขียนรวยขึ้นอย่างรวดเร็วจากหุ้นหลาย ๆ ตัว จนมีเงินจาก 2 ล้านกลายเป็น 7 ล้าน) ผลลัพธ์ หากลงทุนไป 34 ล้านใน 3 ปี เงินเราจะมีประมาณ 68 ล้าน สรุป ดังนั้น ในเวลา 20 ปี เราสามารถบริหารเงินออมตามกฎทองการลงทุน คือ 1. เศรษฐกิจดี เล่นหุ้น 100% 2. เศรษฐกิจแย่ เลิกเล่นหุ้น เล่นตราสารหนี้ 100% 3. เศรษฐกิจผันผวน เล่นหุ้นรอบใหญ่ หวังกำไร 20% ต่อปี จากเงินในปี 1986 จำนวน 1 ล้านบาทของผู้เขียน เติบโตกลายเป็น 68 ล้านบาทในเวลา 20 ปี ซึ่งผมเองเพิ่งมาค้นพบความจริงนี้ ในสมัยปี 2541 และสามารถเพิ่มเงินออมของตัวเองจาก 1 ล้านบาท ในปี 2545 เป็น 8 ล้านบาทในปี 2547 และ เป็น 11 ล้านบาทในปี 2549 มันคือเรื่องง่าย ที่ได้จริง การเล่นตามกฎนี้ เป็นการเล่นระยะยาว ไม่ได้เล่น โดยใช้เวลา 1 –2 เดือน และใช้ระยะเวลา 2-3 ปี เพราะหากเศรษฐกิจดี มันก็จะดีต่อเนื่องกันประมาณ 2 – 3ปี และเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรในช่วงต้นปี เช่น ม.ค. ก็จะมีบทวิเคราะห์จากหลาย ๆ สำนัก ออกมาให้อ่านกันง่าย ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ และมีการคาดการ GDP ว่าปีนี้จะโตเท่าไหร่ 1. หากเศรษฐกิจโตมากกว่า 6% คือ เศรษฐกิจดี ให้เล่นตามกฎทองข้อ 1 2. หากเศรษฐกิจต่ำกว่า 4% ก็คือเริ่มไม่ค่อยดี ก็เล่นตามกฎทองข้อ 2 3. หากเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 4% - 6% ก็คืออยู่ในช่วงผันผวน ก็เล่นตามกฎทองข้อ 3 คือเอาเงินไว้ในกองทุนตราสารหนี้ แต่หากหุ้นตกเยอะ ๆ ก็แบ่งเงินออกมาซื้อหุ้นส่วนหนึ่ง พอหุ้นขึ้นก็ขายทำกำไร ขอขอบคุณ ที่มา : หนังสือ เก็บเก็บเงิน 10 ล้านคุณทำได้ ผู้แต่ง : คุณมนตรี แสวงเดชา |